เทย์โท (สาธารณรัฐไอร์แลนด์)
อุตสาหกรรม | มันฝรั่งทอด |
---|---|
ก่อตั้ง | 25 พฤษภาคม 1954 |
สำนักงานใหญ่ | แอชบอร์น เขตเทศมณฑลมีท , ไอร์แลนด์ |
พื้นที่ให้บริการ | ไอร์แลนด์ |
เจ้าของ | อินเตอร์สแนก |
เว็บไซต์ | taytocrisps |
เทย์โทคริสปส์ (อังกฤษ: Tayto Crisps) เป็นผู้ผลิตมันฝรั่งทอดและข้าวโพดคั่วในเกาะไอร์แลนด์ ซึ่งก่อตั้งโดยโจ เมอร์ฟี เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1954[1][2] และเป็นเจ้าของโดยอินเตอร์สแนก ซึ่งเป็นบริษัทขนมขบเคี้ยวสัญชาติเยอรมัน[3] ทั้งนี้ เทย์โทได้คิดค้นกระบวนการผลิตมันฝรั่งทอดให้มีรสรายแรก[4] โดยมันฝรั่งทอดปรุงรสชนิดแรกที่ผลิตคือชีสและหัวหอม[5][6] ซึ่งบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกพยายามซื้อสิทธิ์ในเทคนิคของเทย์โท[7] เทย์โทคริสปส์เป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมทั่วพื้นที่ส่วนใหญ่ของสาธารณรัฐไอร์แลนด์[8] กระทั่งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 เทย์โทได้เปิดสวนสนุกของตนเองชื่อ "เทย์โทพาร์ก" ใกล้กับเมืองแอชบอร์น[9]
อนึ่ง เทย์โทคริสปส์ที่ผลิตในสาธารณรัฐไอร์แลนด์โดยเทย์โทสแนกส์ไม่ควรสับสนกับเทย์โทลิมิเตดในไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าที่แยกจากกันโดยสิ้นเชิง โดยเทย์โทของไอร์แลนด์เหนือมีจำหน่ายอย่างกว้างขวางในไอร์แลนด์เหนือและบริเตนใหญ่ ในขณะที่เทย์โทจำหน่ายในสาธารณรัฐไอร์แลนด์เท่านั้น
กรรมสิทธิ์
[แก้]บริษัทเทย์โทของสาธารณรัฐไอร์แลนด์เป็นเจ้าของโดยลาร์โกฟูดส์ โดยก่อนหน้านี้ บริษัทแคนเทรลแอนด์คอเครน (ซีแอนด์ซี) เป็นเจ้าของ และตั้งอยู่ที่คูล็อก เทศมณฑลดับลิน กระทั่งโรงงานของพวกเขาปิดในเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 และการผลิตได้รับการว่าจ้างจากภายนอกไปยังลาร์โก ซึ่งลาร์โกตกลงซื้อเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากแคนเทรลแอนด์คอเครนในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 ในราคา 62.3 ล้านยูโร
ใน ค.ศ. 2015 เรย์ คอยล์ ขายหุ้นที่เหลือในอาหารลาร์โกให้แก่บริษัทอาหารเยอรมันที่ชื่ออินเตอร์สแนก ซึ่งยุติการเป็นเจ้าของบริษัทของชาวไอริช[3] ส่วนในไอร์แลนด์เหนือ เทย์โทลิมิเตดยังคงเป็นเจ้าของและดำเนินการโดยตระกูลฮัตชินสัน และแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับเทย์โทในสาธารณรัฐไอร์แลนด์[10]
โรงงานเทย์โทคริสปส์เดิมก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1954 ในดับลินโดยชายในท้องถิ่นที่รู้จักกันในชื่อโจ 'สพัด' เมอร์ฟี ผู้ซึ่งได้รับเครดิตว่าเป็นผู้คิดค้นมันฝรั่งทอดปรุงรสรายแรกของโลก[11]
เครื่องหมายการค้า
[แก้]มันฝรั่งทอดเทย์โทมีหลายรสชาติ ได้แก่: ชีสและหัวหอม, เกลือและน้ำส้มสายชู, สโมกีย์เบคอน, ค็อกเทลกุ้ง และรสเทกซ์เมกซ์รุ่นลิมิเตดเอดิชัน[12]
ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ทางบริษัทตั้งเป้าไปที่ตลาดการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพด้วยผลิตภัณฑ์มันฝรั่งทอดที่มีเกลือต่ำ, ไขมันต่ำ ซึ่งแต่เดิมมีตราสินค้าว่าออเนสต์[13] โดยเทย์โทอ้างถึงช่วงนี้ว่าช่วงแฮปปีแอนด์เฮลตี[14] ซึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพนี้มีการพัฒนาตั้งแต่นั้นมา และเทย์โทได้เปิดตัวเทย์โทเลนทิลส์ซึ่งมีไขมันน้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์เพื่อกำหนดเป้าหมายตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ[15]
ผลงานเครื่องหมายการค้าของเทย์โทสแนกในในสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ได้แก่ เทย์โท, คิง, โอดอนเนลส์ออฟทิปเปอร์แรรี, ฮังกีดอรีส์, ฮูลาฮูปส์, ป็อปชิปส์, เคพี, เพนน์สเตต, พอม-แบร์ และแมกคอยส์[16]
การตลาด
[แก้]เทย์โทใช้มาสคอตคือมิสเตอร์เทย์โทในแคมเปญการตลาดหลายรายการร่วมกับผู้สนับสนุนรายก่อน ๆ เช่น เวสต์ไลฟ์ ส่วนในการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไอร์แลนด์ ค.ศ. 2007 เทย์โทได้หาเสียงโฆษณาโดยมิสเตอร์เทย์โทเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งปลอม[17] ซึ่งเทย์โทอ้างว่าจำนวนคะแนนเสียงที่เสียไปในเขตเลือกตั้งคาร์โลว์–คิเคนนี โดยระบุว่ามีบางคนลงคะแนนให้มาสคอตดังกล่าว แต่นี่เป็นเพียงการเดาเท่านั้น[18] และเทย์โทถูกปรับในระหว่างการรณรงค์เรื่องการทิ้งขยะ เนื่องจากมีการติดโปสเตอร์เลือกตั้งปลอมในที่สาธารณะ[19]
ใน ค.ศ. 2009 เทย์โทลิมิเตดได้ตีพิมพ์เดอะแมนอินไซด์เดอะแจกเกตซึ่งเป็นอัตชีวประวัติสมมติของมิสเตอร์เทย์โทที่เขียนโดยไมอา ดันฟี, เคียรัน มอร์ริสัน และมิก โอแฮรา โดยทางเทย์โทระบุว่าเปอร์เซ็นต์ของราคาปกจะนำไปมอบให้แก่อะแวร์ ซึ่งเป็นองค์การการกุศลของไอร์แลนด์ ที่ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโรคซึมเศร้า, โรคไบโพลาร์ และสภาวะทางอารมณ์ที่เกี่ยวข้อง[ต้องการอ้างอิง]
ครั้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022 มาสคอตมิสเตอร์เทย์โทได้ถูกนำออกจากบรรจุภัณฑ์ชีสและหัวหอมทั้งหมด และเพิ่มสโลแกน "มิสเตอร์เทย์โทอยู่ที่ไหน"[20] ต่อมาในเดือนดังกล่าว ได้มีแถลงการณ์จากบัญชีสื่อสังคมออนไลน์อย่างเป็นทางการของมิสเตอร์เทย์โทซึ่งอ้างว่ามิสเตอร์เทย์โทกำลังหยุดพักจากงานเพื่อออกไปดูโลก โดยเริ่มแคมเปญ "รายการสิ่งที่อยากทำก่อนตายของมิสเตอร์เทย์โท"[21]
เทย์โทพาร์ก
[แก้]ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 เทย์โทร่วมกับเรย์ คอยล์ ผู้เป็นนักธุรกิจท้องถิ่น เปิดสวนสนุก "เทย์โทพาร์ก" ใกล้กับแอชบอร์นในเขตเทศมณฑลมีท[9] กระทั่งในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 มีการประกาศว่าสัญญาการสนับสนุนชื่อที่มีอยู่จะไม่ได้รับการต่ออายุ โดยสวนสนุกนี้จะเปลี่ยนชื่อเป็น "เอเมอรัลด์พาร์ก" เมื่อสัญญาที่มีอยู่หมดอายุในเดือนมกราคม ค.ศ. 2023[22]
การดำเนินการทางกฎหมาย
[แก้]ใน ค.ศ. 2006 เทย์โทพยายามบังคับให้วงโทสเต็ดเฮเลติกสัญชาติไอริชทำลายสำเนาอัลบั้มนาวอินนิวนอสตัลเจียเฟลเวอร์ของพวกเขาทั้งหมด ซึ่งมีรูปภาพอิงไอคอน "มิสเตอร์เทย์โท" ที่เป็นเครื่องหมายการค้า[23] แม้ว่าภาพดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1988 บนอัลบัมคาสเซตซองส์ฟอร์สวิงกิงเซลิเบตส์ของวงโทสเต็ดเฮเลติก[24]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ TaytoCrisps.ie เก็บถาวร 5 ตุลาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "THE TAYTO CRISP CO – Irish Company Info". SoloCheck. สืบค้นเมื่อ 11 February 2018.
- ↑ 3.0 3.1 "Tayto Snacks becomes the crisp new name for Largo Foods". The Irish Times. 21 March 2013. สืบค้นเมื่อ 26 November 2019.
- ↑ "Obituary: Joe 'Spud' Murphy". The Telegraph. Telegraph Media Group. 5 November 2001. สืบค้นเมื่อ 8 January 2011.
- ↑ "Joe 'Spud' Murphy: The Man Who Gave Potato Chips Flavor". HuffPost. 20 April 2012.
- ↑ "Tayto crisp barons who made a packet". The Independent. สืบค้นเมื่อ 21 April 2022.
- ↑ Hochman, Karen. "A History of the Potato Chip: Page 4: The First Salted & Flavored Potato Chips". The Nibble.
- ↑ O'Connell, Brian (6 June 2009). "Two packets of Tayto and a bottle of TK ..." The Irish Times.
- ↑ 9.0 9.1 Casey, Ann. "Opening of Tayto Park near Ashbourne brings 85 jobs". The Meath Chronicle. สืบค้นเมื่อ 13 December 2011.
- ↑ "After 35 years, the iconic face of Tayto Crisps has stepped away from his company". Fora.ie.
- ↑ "Created world's first cheese and onion crisps". The Irish Times.
- ↑ [1] เก็บถาวร 18 กันยายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ [2] เก็บถาวร 18 มีนาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ [3] เก็บถาวร 17 สิงหาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ [4] เก็บถาวร 2023-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "Tayto Lentils". iRadio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-02. สืบค้นเมื่อ 2022-02-01.
- ↑ [5] "Our Brands". Tayto Snacks. สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
- ↑ "Tayto are mass littering the whole country " Damien Mulley". Mulley.net. 9 May 2007. สืบค้นเมื่อ 25 October 2012.
- ↑ [6] เก็บถาวร 11 มิถุนายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Don'T Fine Me, Urges Willie Over His Posters – By Anne Sheridan – Local – Limerick Leader". Limerickleader.ie. 6 June 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2014. สืบค้นเมื่อ 25 October 2012.
- ↑ "Has anyone seen Mr Tayto?". JOE.ie. สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
- ↑ "Where is Mr. Tayto?". Where's Mr. Tayto?. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-21. สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
- ↑ Gleeson, Colin. "Tayto Park to be renamed as facility seeks 'new identity'". The Irish Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-17.
- ↑ "Toasted Heretic in battle with Tayto". Hot Press. สืบค้นเมื่อ 25 October 2012.
- ↑ "Toasted Heretic original official website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 December 2003. สืบค้นเมื่อ 18 April 2010.